หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(ECO
SCHOOL)
ชุมชนของเราแหล่งเรียนรู้เพื่อชีวิต
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
หลักการ
หลักสูตร
สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ECO SCHOOL) ชุมชนของเราแหล่งเรียนรู้เพื่อชีวิต ได้พัฒนาขึ้นโดยยึดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแกนกลางในสัดส่วน
70 เปอร์เซ็นต์ โดยยืดหยุ่นตามธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ อีก 30 เปอร์เซ็นต์ให้สถานศึกษาเป็นผู้จัดทำขึ้นเองซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้ฐานทรัพยากรของชุมชนเป็นหลักและใช้พื้นที่ทรัพยากร ในเขตอำเภอกมลาไสย
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหลักในการจัดทำเป็นหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(ECO SCHOOL) ชุมชนของเราแหล่งเรียนรู้เพื่อชีวิต เพื่อให้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542 มาตรา 27 วรรค 2
โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้
1.
เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น
2.
เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนเห็นคุณค่ารู้จักอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่
3.
เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
4.
เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
จุดมุ่งหมาย
1.
นักเรียนมีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่ตนอยู่อาศัย
2.
นักเรียนนำความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
3.
นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน
พันธะกิจ
พันธะกิจที่
1 ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ
1.1
นโยบายสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนกมลาไสย
โรงเรียนกมลาไสยมีความมุ่งมั่นในการดำเนินตามนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
โดยยึดมั่นตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนและในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน
โรงเรียนจะนำระบบและการพัฒนาทางเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่ เข้ามาดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเต็มความสามารถตามแนวทางต่อไปนี้
1. ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอน
2. ส่งเสริมการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการลดปริมาณ ของเสีย
(Reduce) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่
(Recycle) ในขั้นตอนการผลิต รวมทั้งสนับสนุนการลด และเลิกใช้ สารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในผลิตภัณฑ์
(รวม Parts/ Subparts) วัสดุทางอ้อม
(Indirect Materials) และวัสดุบรรจุภัณฑ์ (Packaging
Materials) โดยการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายจัดซื้อ
และ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ
3. ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการจัดการ
4. ส่งเสริมและปฏิบัติตามข้อกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ บริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎระเบียบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการยกระดับการดำเนินการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมด้วยการวางระเบียบและกฎเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
5. ส่งเสริมระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
6. ส่งเสริมความเชื่อถือในชุมชน และสังคม ตลอดจนเป็นแหล่งให้ความรู้แก่ชุมชน
7. ส่งเสริมการอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกแก่ครู
นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและผู้ที่เกี่ยวข้อง
8. ส่งเสริมระบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการนำความรู้เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุม
โรงเรียนได้มอบนโนบายให้กับครู
นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับรับทราบและเปิดเผยต่อหน่วยงานภายนอกที่มีความสนใจ
และถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน ที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
โดยโรงเรียนจะอำนวยการในเรื่องงบประมาณ กำลังคน เวลา อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคลากรทุกระดับนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
1.2 วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
› พัฒนาความรู้ ระเบียบวินัย ทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและใช้ความรู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน
ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
มีทักษะการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง บริหารโดยการมีส่วนร่วม มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน
1.3 พันธะกิจของโรงเรียน
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
และตระหนักในการมีส่วนร่วมที่จะรักษา
สิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม
2. นำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการเรียนรู้
บริหารโดยการมีส่วนร่วม
3. พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
มีลักษณะใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีระเบียบวินัยและมีทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
4. พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลกร
นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน
1.4 อัตลักษณ์ของโรงเรียน
บูรณาการความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
พันธะกิจที่
2. ด้านหลักสูตรและ การจัดการเรียนรู้
1.วิเคราะห์บริบท
SWOT ของโรงเรียนและท้องถิ่น เพื่อใช้ในการจัดทำหลักสูตร
2.พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับบริบทและหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาของโรงเรียนบรรจุหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(ECO
SCHOOL) ชุมชนของเราแหล่งเรียนรู้เพื่อชีวิต
- โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และใช้กระบวนการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ว
31291,ว31292
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ว
32291,ว32292
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ว
33291,ว33292
3. บูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาลงในรายวิชาต่างๆ
และกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตร ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนรู้
/ ทรัพยากร ต่าง ๆ เพื่อโครงการต่างของนักเรียนสามารถดำเนินการได้
5. การประกาศการใช้หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Eco
(School)
พันธะกิจที่ ๓ การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา
1.
สร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรอบ เพื่อให้ชุมชน
หน่วยงานราชการ เอกชนมีส่วนร่วมการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนดังนี้
- ชุมชนในเขตลุ่มลำน้ำปาว อำเภอกมลาไสย สนับสนุนพื้นที่เรียนรู้และปราชญ์ชุมชน
- หมู่บ้านในเขตลำน้ำชี อำเภอกมลาไสย สนับสนุนพื้นที่เรียนรู้และปราชญ์ชุมชน
- หมู่บ้านในเขตหนองขุ่น ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย สนับสนุนพื้นที่เรียนรู้และปราชญ์ชุมชน
- หมู่บ้านนามน(ป่าดงนามน)ต.โคกสมบูรณ์
อ.กมลาไสย สนับสนุนพื้นที่เรียนรู้และปราชญ์ชุมชน
แก้มลิงหนองเลิงเปือย
- หมู่บ้านลาด(ป่าชุมชนดงหัวกุด)
ต.หลักเมือง อ.กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
- สำนักสิ่งแวดล้อม จังหวัดกาฬสินธุ์
สนับสนุนด้านแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
- ศูนย์เรียนรู้ลดพลังงานและการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สนับสนุนด้านแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
2.
สร้างเครือข่ายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- โรงเรียนร่องคำ
อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
- โรงเรียนดอนไทรงามพิทยาคม
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
-
โรงเรียนอนุกูลนารี
อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
-
โรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์
อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
-
โรงเรียนบ้านหนองบัวโจดดงลิงวิทยา อำเภอกมลาไสย
จังหวัดกาฬสินธุ์
-
โรงเรียนบ้านนามนวิทยาคม
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
-
เครือข่ายศิษย์เก่าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.
โรงเรียนเป็นแหล่งบริการความรู้แก่ชุมชนเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
-
เป็นแหล่งฐานข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน
-
เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่องานวิจัยของชุมชน
-
ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ชุมชน
พันธะกิจที่
๔ อำนวยความสะดวกและกิจกรรมสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
1.
สำรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
2.
สำรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนอกโรงเรียน
3.
สำรวจพื้นที่ที่ต้องการศึกษาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแก้ปัญหาให้กับชุมชน
4.
วางแผนการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน
5.
โรงเรียนจัดงบประมาณ อุปกรณ์และวัสดุอื่น ๆ
เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน
6.
นำโครงการที่นักเรียนศึกษามาแก้ปัญหาสิงแวดล้อมในชุมชน
โดยมีปราชญ์ชุมชนให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ
แผนการดำเนินงาน
แผนการดำเนินงาน
3 ขั้น แบ่งเป็น 6 ระยะ ดังนี้
›
ขั้นที่ 1 ระยะเวลา 1
ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2559)
· ระยะที่
1 ค้นคว้าและการทำโครงงานตามประเด็นที่นักเรียนสนใจ
· ระยะที่
2 การนำเสนอต่อชุมชน
›
ขั้นที่ 2 ระยะเวลา 1
ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2560)
· ระยะที่
3 การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม
· ระยะที่
4 การนำเสนอต่อสังคม
›
ขั้นที่ 3 ระยะเวลา 1
ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2561)
·
ระยะที่ 5 การสังเคราะห์ความรู้
·
ระยะที่ 6 การนำเสนอในระดับประเทศ
นานาชาติ

แนวคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(ECO
SCHOOL)
ชุมชนของเราแหล่งเรียนรู้เพื่อชีวิตในการพัฒนาหลักสูตรนี้
โรงเรียนได้ดำเนินการตามแนวคิดและกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา (Eco-School) ดังนี้
1
การเรียนรู้สภาพภูมิสังคมในพื้นที่ เช่น ลำน้ำปาว,ลำน้ำชี,หนองขุ่น,ป่าดงนามน,แก้มลิงหนองเลิงเปือย
ป่าชุมชนดงหัวกุด และชุมชนบริเวณรอบโรงเรียน ฯลฯ
2. การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นตามกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา
2.1 ขั้นสำรวจประเด็นปัญหา
2.2 ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน
2.3 ขั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์
2.4 ขั้นเรียนรู้สถานการณ์
เข้าใจปัญหา
2.5 ขั้นวางแผนดำเนินงาน
2.6 ขั้นลงมือปฏิบัติตามแผน
2.7 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
3.
การติดตามและประเมินผล
4. สรุปแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
No comments:
Post a Comment